วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

งาน

งาน(Work) คือผลของการออกแรงที่กระทำต่อวัตถุ แล้ววัตถุเคลื่อนที่ได้ในแนวแรง เป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วยเป็นจูล

**ในกรณีที่ออกแรงกระทำต่อวัตถุ แล้ววัตถุไม่เคลื่อนที่หรือเคลื่อนที่ไปในทิศทางตั้งฉากกับแนวแรงที่กระทำกับวัตถุ จะไม่มีงานเกิดขึ้น
กำลัง(Power) คือพลังงานที่ใช้ในหน่วยเวลา มีหน่วยเป็นวัตต์
 
            พลังงาน คือ สิ่งที่ทำให้วัตถุเกิดงาน       
            พลังงาน มีความหมายใกล้เคียงกับงานแต่พลังงานไม่มีวันสูญหาย(สามารถเปลี่ยนรูปได้) มีหน่วยเป็นจูล(J)
            พลังงานที่เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันนั้นมีมากมาย แต่จะขอพูดถึงแค่ 2 ชนิด คือ พลังงานกลและพลังงานความร้อน

พลังงานกล คือความสามารถที่ทำให้วัตถุทำงานได้ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือพลังงานศักย์ และพลังงานจลน์
1.พลังงานศักย์ พลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุเนื่องจากระดับความสูง(พลังงานศักย์โน้มถ่วง:Ep) และเนื่องจากการยืดหยุ่น(พลังงานศักย์ยืดหยุ่นEps)
                 พลังงานศักย์โน้มถ่วง  งานที่ทำโดยแรงโน้มถ่วงที่มีค่าคงตัว F ต่อวัตถุที่มีมวล m (เมื่อวัตถุตกลงมาจากระดับเดิมเท่ากับ h)
Ep = mgh
                m = มวลของวัตถุ (kg)         
               g = ความเร่งเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกมีค่าประมาณ 9.81 m/s2  
               h = ความสูงจากระดับอ้างอิง (m)
**พลังงานศักย์ขึ้นอยู่กับระนาบอ้างอิงเสมอ นั่นคือพลังงานศักย์มีค่าเท่าใดขึ้นอยู่กับความสูงจากระนาบอ้างอิงถึงวัตถุ
Ex  แมวมีมวล 5000 กรัมอยู่บนหลังคาสูง 2 เมตรจากพื้นดิน แล้วแมวมีพลังงานศักย์โน้มถ่วงเท่าไรเมื่อเทียบกับพื้น
จากสูตร Ep = mgh
จะได้ว่า Ep = (5000x10-3)(9.8)(2)
= 98 J
                 พลังงานศักย์ยืดหยุ่น พลังงานที่สะสมอยู่ในสปริงหรือวัตถุอื่นที่มีสมบัติคล้ายสปริงเนื่องจากความยาวเปลี่ยนไปจากเดิม  (ถูกทำให้ยืดออก หรือหดเข้าไปจากความยาวเดิม)
k = ค่านิจสปริง(ค่าคงที่เฉพาะของสปริงตัวนั้นๆ) (N/m)
s = ระยะทางที่วัตถุยืดหรือหดจากจุดสมดุล<ความยาวปกติ> (m)

Ex  แมวมวล 5 กิโลกรัมถูกแขวนไว้กับสปริงที่มีค่านิจสปริงเท่ากับ 10 นิวตัน/เมตร ทำให้สปริงยืดออก 5 เมตร แล้วจะเกิดพลังงานศักย์ยืดหยุ่นเท่าไร
จากสูตร Eps = 1/2ks2
จะได้ว่า Eps = (10)(52)
= 125 J


F = แรงที่ใช้ในการดึง (N)
 s = ระยะทางจากจุดสมดุล<ระยะทางที่ยืดหรือหดจากความยาวปกติ> (m)
Ex  แมวมวล 5 กิโลกรัมถูกแขวนไว้กับสปริงแล้วยืดออก 5 เมตร จะเกิดพลังงานศักย์ยืดหยุ่นเท่าไร
จากสูตร Eps = 1/2Fs
จะได้ว่า Eps = (mg)(s)
= (50)(5)
= 125 J
2.พลังงานจลน์ พลังงานที่อยู่ในวัตถุ ขณะที่วัตถุนั้นๆกำลังเคลื่อนที่
m = มวลของวัตถุ (kg)
V = อัตราเร็วของการเคลื่อนที่ของวัตถุ (m/s)

Ex  แมวมวล 5 กิโลกรัมวิ่งบนหลังคาด้วยความเร็ว 2 เมตร/วินาที แล้วแมวมีพลังงานจลน์เท่าไร
จากสูตร Ek  =  1/2mv2
จะได้ว่า Ek = (5)(22)
= 10 J

กฎการอนุรักษ์พลังงาน
กฎการอนุรักษ์พลังงานนั้น กล่าวว่า พลังงานไม่สูญหายไปไหน แต่สามารถเปลี่ยนรูปได้ เช่น หลอดไฟ เราให้พลังงานไฟฟ้ากับหลอดไฟ แล้วทำให้หลอดไฟสว่างขึ้น หากลองเอามือไปวางใกล้ๆกับหลอดไฟก็จะรู้สึกว่าอุ่นจนร้อน (หมายความว่า พลังงานไฟฟ้า เปลี่ยนรูปเป็น พลังงานความร้อน เป็นต้น)
 E1 = E2 (พลังงานรวมมีค่าเท่าเดิมเสมอ)
E1=พลังงานตอนแรก
E2=พลังงานตอนหลัง
Ex  แมวมวล 5 กิโลกรัมตกจากหลังคาสูง  4 เมตร แมวจะกระทบพื้นด้วยความเร็วเท่าไร (กำหนดให้ g =10 m/s2)
จากสูตร  E1 = E2
Ep1+Ek10 = Ep20+Ek2
mgh  =  1/2mv2
(5)(10)(4=  (1/2)(5)(v2)
V2 = 80
V =  45 m/s
 

1 ความคิดเห็น: