วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

แรงและกฎของนิวตัน


          แรง (Force) คือสิ่งที่สามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพและลักษณะของการเคลื่อนที่ และเปลี่ยนแปลงรูปร่าง เป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยตามระบบเอสไอคือ นิวตัน(N)

กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน

กฎการเคลื่อนที่ข้อ1
วัตถุจะรักษาสภาพนิ่งหรือเคลื่อนที่สม่ำเสมอในแนวตรงนอกจากจะมีแรงลัพธ์ซึ่งมีขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำซึ่งบางครั้งเรียกว่า กฏแห่งความเฉื่อย จะได้สมการการเคลื่อนที่เป็น
กฎการเคลื่อนที่ข้อ2
ถ้ามีแรงลัพธ์ซึ่งมีขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุ วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร่งในทิศทางเดียวกับแรงลัพธ์ที่มากระทำขนาดของความเร่งจะแปรโดยตรงกับแรงลัพธ์ และแปรผกผันกับมวลของวัตถุนั้นจะได้ สมการของการเคลื่อนที่เป็น
กฎการเคลื่อนที่ข้อ3
เมื่อมีแรงกิริยา ย่อมมีแรงปฏิกิริยาซึ่งมีขนาดเท่ากันและมิทิศทางตรงกันข้าม เรียกแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาคู่ใด ๆ ว่า แรงคู่ปฏิกิริยา แรงคู่ปฏิกิริยาใดๆมีสมบัติ 4 ประการคือ
1.             เกิดขึ้นพร้อมกัน
2.             มีขนาดเท่ากัน
3.             ทิศทางตรงข้ามกัน
4.             กระทำกับวัตถุคนละก้อนกัน


ตัวอย่าง เรือผูกด้วยเชือก3เส้นในแนวระดับเพื่อไม่ให้เคลื่อนที่ดังรูป แรงตึงเชือกของเชือกเส้นที่1 F1 =305 N  จงหาแรงตึงเชือกในเชือกเส้นที่2และ3



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น