แรงโน้มถ่วงของโลก (Gravitational Force) คือ แรงที่โลกดึงดูดวัตถุบนโลกไม่ให้หลุดลอยไปในอวกาศ ซึ่งแรงโน้มถ่วงของโลกที่มีผลต่อวัตถุจะมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับขนาดของมวลของวัตถุและระยะห่างระหว่างวัตถุกับจุดศูนย์กลางของโลก
มวลของสาร (Mass) คือ ปริมาณเนื้อสาร ซึ่งมีค่าคงตัว มีหน่วยเป็นกิโลกรัม
น้ำหนัก (Weight) คือ แรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุ มีหน่วยตามระบบเอสไอคือ นิวตัน(N)
w = mg
w แทน น้ำหนัก
m แทน มวล
g แทน ค่าความเร่งเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก (9.8 m/s2)
แรงเสียดทาน (Friction Force) คือ แรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยเกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ และมีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของวัตถุ
แรงเสียดทานจะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
1. ลักษณะของผิวสัมผัส
ถ้าผิวหยาบหรือขรุขระจะมีแรงเสียดทานมากกว่าผิวลื่น
2. น้ำหนักหรือแรงกดของวัตถุที่กดลงบนพื้น
ถ้าน้ำหนักหรือแรงกดของวัตถุที่กดลงบนพื้นมาก จะเกิดแรงเสียดทานมาก แต่ถ้าน้ำหนักหรือแรงกดลงบนพื้นน้อย จะเกิดแรงเสียดทานน้อย
**เมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุ แล้ววัตถุยังไม่เคลื่อนที่หรือเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงตัว แรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุจะมีค่าเป็นศูนย์ ซึ่งแสดงว่าแรงที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเท่ากับแรงเสียดทาน
แรงเสียดทานแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.แรงเสียดทานสถิต(Static Friction) คือแรงเสียดทานซึ่งเกิดจากผิววัตถุ2ชนิดมาสัมผัสกัน ในขณะที่มีแรงพยายาม
จะทำให้วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่ไปบนผิวของอีกวัตถุ ซึ่งวัตถุนั้นยังไม่เคลื่อนที่ และจะมีค่าสูงสุดเมื่อวัตถุเริ่มเคลื่อนที่
2. แรงเสียดทานจลน์(Kinetic Friction) คือแรงเสียดทานที่เกิดขึ้นกับผิววัตถุ2ชนิด ในขณะที่วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่ไปบน
ผิวของอีกวัตถุหนึ่ง
สัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทาน(µ) คืออัตราส่วนระหว่างแรงเสียดทานกับแรงที่กดลงบนพื้นผิวสัมผัส

f แทน แรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัส
n แทน แรงที่กดลงบนพื้นผิวสัมผัส
µ แทน สัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทาน
ตัวอย่าง
ออกแรง30 นิวตัน ลากวัตถุไปตามพื้นราบ ถ้าสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทาน = 10 จงคำนวณหาน้ำหนักของวัตถุ

10 = 30/N
N = 3
วัตถุหนัก 3 นิวตัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น