วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

แสงและเลนส์


                แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ความเร็วในสุญญากาศคือ 3×108 m/s มีคุณสมบัติ 4 อย่าง คือ
การสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบน
การสะท้อนของแสง (Reflection of light)
                เกิดจากการที่แสงเคลื่อนที่ไปกระทบวัตถุทึบแสง จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ การสะท้อนนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะผิววัตถุ

Normal line คือ เส้นปกติ เป็นเส้นที่ลากตั้งฉากกับวัตถุ ตรงตำแหน่งรังสีตกกระทบ
Incident ray คือ รังสีตกกระทบ เป็นแนวการเคลื่อนที่ของแสงที่ตกกระทบวัตถุ
Reflected ray คือ รังสีสะท้อน เป็นแนวการเคลื่อนที่ของแสงที่สะท้อนจากวัตถุ
Angle of incidence ( i ) คือ มุมตกกระทบ เป็นมุมระหว่างรังสีตกกระทบกับเส้นแนวตั้งฉาก
Angle of reflection ( r ) คือ มุมสะท้อน เป็นมุมที่อยู่ระหว่างรังสีสะท้อนและเส้นปกติ
การสะท้อนของแสงขึ้นอยู่กับลักษณะของผิววัตถุ
กฎการสะท้อนของแสง
1.จุดที่แสงตกกระทบมีรังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติอยู่บนระนาบเดียวกัน
2.มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน
การเกิดภาพในกระจกเงาราบ
1.วัตถุเป็นจุดวางอยู่หน้ากระจกเงาราบ การหาระยะ P เป็นวัตถุที่เป็นจุดดังรูป
เมื่อให้ PB คือ รังสีจากวัตถุที่ตกกระทบกับกระจกเงาราบ และ BQ คือ รังสีสะท้อน
ถ้าต่อ QB ไปตัดกับส่วนต่อของ PA ที่จุด P’ ที่เป็นภาพจุด P ดังรูป


2.วัตถุมีขนาดวางอยู่หน้ากระจกเงาราบ วัตถุ PQ มีลักษณะเป็นเส้นตรงและยาว y ดังรูป



3.ภาพที่เกิดในกระจกเงาระนาบสองบานทำมุม
   1)ภาพแรกที่เกิดขึ้น จะเป็นวัตถุของการสะท้อนครั้งที่ 2
   2)ภาพที่ 2 ที่เกิดขึ้น มีระยะภาพเท่ากับระยะวัตถุ
   3) ถ้าภาพที่ 2 ยังอยู่หน้ากระจกเงาระนาบของบานแรก ภาพนั้นจะเป็นวัตถุในการสะท้อนต่อไป
ถ้าผลลัพธ์ n ที่ได้ไม่ลงตัว ให้ปัดขึ้นเป็นจำนวนเต็ม


ตัวอย่าง


ตัวอย่าง

การเกิดภาพในกระจกเงาโค้งทรงกลม
                กระจกเงาโค้งทรงกลมเป็นส่วนหนึ่งของผิวโค้งทรงกลม มี 2 ชนิด
กระจกเว้า คือ กระจกที่มีผิวโค้งเว้าเป็นผิวสะท้อนแสง
กระจกนูน คือ กระจกที่มีผิวโค้งนูนเป็นผิวสะท้อนแสง
C คือ จุดศูนย์กลางความโค้งกระจก
R คือ รัศมีความโค้งของกระจก
V คือ จุดกึ่งกลางบนผิวโค้งของกระจก
เส้นแกนมุขสำคัญ คือ เส้นตรงที่ลากผ่านจุด C ไปยังจุด V
F คือ จุดโฟกัสเป็นจุดกึ่งกลางระหว่าง C กับ V

·       ภาพที่เกิดจากกระจกเว้า



·       ภาพที่เกิดจากกระจกนูน



·       สูตรที่ใช้ในการคำนวณการเกิดภาพในกระจกเว้าและกระจกโค้ง

ตัวอย่าง



การหักเหของแสง (Refraction of light)
กฎของสเนลล์ (Snell’s law)

ตัวอย่าง


มุมวิกฤต
          มุมวิกฤต คือ มุมที่ตกกระทบที่ทำให้เกิดมุมหักเหเป็นมุม 90 ํ พอดี เกิดจากแสงจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่าไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า หรือแสงจากตัวกลางที่มีดัชนีหักเหมากไปสู่ตัวกลางที่มีดัชนีหักเหน้อยกว่า


กฎของสเนลล์

                 การสะท้อนกลับหมด (Total reflection) คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดจากมุมตกกระทบมีขนาดโตกว่ามุมวิกฤต จะทำให้แสงเกิดการสะท้อนกลับสู่ตัวกลางเดิมทั้งหมด ไม่มีการหักเหออกไปอีก


ลึกจริง ลึกปรากฏ


ตัวอย่าง


เลนส์
เลนส์ คือ ตัวกลางโปร่งแสงที่สามารถรวมแสงหรือกรายแสงโดยอาศัยการหักเหของแสงที่เดินทางผ่านเลนส์ แล้วเกิดการหักเห โดยรังสีหักเหไปตัดกันที่จุดโฟกัส ซึ่งจะเป็นจุดโฟกัสจริงสำหรับเลนส์นูน และเป็นจุดโฟกัสเสมือนสำหรับเลนส์เว้า เลนส์มี 2 ชนิด
1.เลนส์นูน มีลักษณะขอบบาง กลางหนา และมีคุณสมบัติรวมแสง
2.เลนส์นูน มีลักษณะขอบบาง กลางบาง และมีคุณสมบัติกระจายแสง

·       ภาพที่เกิดจากเลนส์นูน



·       ภาพที่เกิดจากเลนส์เว้า




ตัวอย่าง




ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง
การกระจายแสง (dispersion of light)
1.เมื่อแสงขาว ส่องผ่านปริซึมสามเหลี่ยม แสงจะเกิดการหักเห 2 ครั้ง
   1) หักเหจากอากาศไปปริซึม
   2) หักเหจากปริซึมไปอากาศ


2.เมื่อแสงขาวเกิดการหักเห
   1)แสงขาวจะแยกออกเป็นแถบสี 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง เรียกแถบทั้ง 7 สีว่า สเปกตรัมของแสงขาว (spectrum of white light)
   2)ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเรียกว่า การกระจายแสง
3.การที่แสงแต่ละสีมีการหักเหที่ผิวรอยต่อระหว่างคู่เดียวกันไม่เท่ากัน แสดงว่า มีดัชนีของตัวกลางเนื้อ   
   เดียวกันของแสงแต่ละสีไม่เท่ากัน
4.มุมที่รังสีหักเหออกจากปริซึมทำกับรังสีตกกระทบที่ผิวแรกของปริซึม เรียกว่า มุมเบี่ยงเบน


รุ้ง
                รุ้ง คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดจากการกระจายของแสง ซึ่งอาจจะเห็นก่อนหรือหลังฝนตก เกิดจากการที่แสงส่องผ่านละอองแล้วเปิดการกระจายแสงและสะท้อนกลับหมด ทำให้ได้สเปกตรัมของแสงขาวแล้วหักเหออกสู่อากาศเข้าสู่ตาคน แบ่งได้ 2 ชนิด
        1.รุ้งปฐมภูมิ (primary rainbow) เกิดจากแสงตกกระทบหยดน้ำ ทางขอบบน เกิดการหักเห 2 ครั้งสะท้อนกลับหมด 1 ครั้ง โดยจะเห็นเป็นสีต่าง ๆ กันมีสีแดงอยู่บนและมีสี ม่วงอยู่ล่างสุด
        2.รุ้งทุติยภูมิ (secondary rainbow) เกิดจากแสงตกกระทบหยด น้ำทางขอบล่าง เกิดการหักเห 2 ครั้งสะท้อนกลับหมด 2 ครั้ง โดยจะเห็นเป็นสีต่าง ๆ กันมีสีม่วงอยู่บนและมี สีแดงอยู่ล่างสุด

มิราจ
                มิราจ คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดจากการหักเหของแสงในบรรยากาศชั้นต่างๆ เนื่องจากความหนาแน่นของอากาศในชั้นต่างๆไม่เท่ากัน และแตกต่างกันมาก เช่น การเห็นต้นไม้อยู่ใต้พื้นทราย การเห็นน้ำท่วมบนพื้นถนนในขณะอากาศร้อนทั้งๆที่พื้นถนนแห้ง

ไฟฟ้า

เซลล์ไฟฟ้า

     - เซลล์ไฟฟ้าเคมี คือ แหล่งจ่ายไฟที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี    
     - สารละลายอิเล็กโทรไลต์ คือ สารละลายที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
     - ขั้วไฟฟ้า คือ แผ่นตัวนำไฟฟ้า2แผ่น ที่จุ่มลงในสารละลายที่สามารถนำไฟฟ้าได้
     - วงจรไฟฟ้า คือ ทางเดินของกระแสไฟฟ้าจากขั้วหนึ่งไปอีกขั้วหนึ่งโดยกระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วที่มีพลังงานสูงไปยังขั้วที่มีพลังงานไฟฟ้าต่ำกว่า
                                เรียกขั้วที่มีพลังงานไฟฟ้าสูงว่า 'ขั้วบวก'
                                เรียกขั้วที่มีพลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าว่า 'ขั้วลบ'
     - ความต่างศักย์ไฟฟ้า คือ พลังงานในการย้ายประจุไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดภายใต้
สนามไฟฟ้าสถิต  มีหน่วยเป็น จูลต่อคูลอมบ์ หรือ โวลต์
     - แรงเคลื่อนไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด (เซลล์ไฟฟ้า) ใช้ในการเคลื่อนประจุ +1 คูลอมบ์ ครบวงจรพอดี จากขั้วบวกไปยังขั้วลบผ่านตัวต้านทาน (R) ภายนอกเซลล์และจากขั้วลบไปยังขั้วบวก ผ่านเซลล์ไฟฟ้าภายใน มีหน่วยเป็น จูลต่อคูลอมบ์ หรือ โวลต์
หลักการของเซลล์ไฟฟ้า
           คือ ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า แต่สารเคมีที่ใช้อาจแตกต่างกันไปดังนั้นแรงเคลื่อนไฟฟ้าก็จะแตกต่างกันด้วย

เซลล์กัลวานิก
       เมื่อนำแผ่นสังกะสีจุ่มลงในสารละลายของทองแดง หรือตัวรีดิวซ์จุ่มลงในตัวออกซิไดซ์โดยตรงแล้ว ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทำให้เกิดพลังงานในรูปของความร้อน แต่ถ้าแยกตัวรีดิวซ์ออกจากตัวออกซิไดซ์ แล้วเชื่อมต่อวงจรภายนอกและสะพานเกลือ (salt bridge) อิเล็กตรอนก็จะถูกถ่ายโอนผ่านตัวกลางภายนอกจากขั้วไฟฟ้าที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันไปยังขั้วไฟฟ้าที่เกิดปฏิกิริยารีดักชัน จึงทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้ เซลล์ไฟฟ้าที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีนี้เรียกว่า เซลล์กัลวานิก หรือเซลล์โวลตาอิก (galvanic cell or voltaic cell)


ถ่านไฟฉาย
       ถ่านไฟฉาย หรือ เซลล์แห้ง ใช้แท่งคาร์บอนเป็นขั้วบวก และสังกะสีเป็นขั้วลบ มีสารแอมโมเนียมคลอไรด์และแมงกานีสไดออกไซด์เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ เมื่อใช้ไปนานๆกระแสไฟฟ้าจะลดลงและมีน้ำออกมาทำให้เกิดสนิมได้ และถ่านไฟฉายนี้ก็มีกระแสไฟฟ้าไหลเพียงทิศทางเดียว(บวกไปลบ) หรือ ไฟฟ้ากระแสตรงนั่นเอง


แบตเตอรี่รถยนต์
     ใช้สารตะกั่วเป็นขั้วลบและตะกั่วออกไซด์เป็นขั้วบวก มีสารละลายกรดซัลฟูริกเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ สามารถนำไปชาร์ตเติมประจุได้ แต่ต้องหมั่นเติมน้ำกลั่นให้ความเข้มข้นของกรดซัลฟูริกเท่าเดิม
- เซลล์ปฐมภูมิ คือ เซลล์ไฟฟ้าที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
- เซลล์ไฟฟ้าทุติยภูมิ คือ เซลล์ไฟฟ้าที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้




ไดนาโม
         ไมเคิล ฟาราเดย์ได้ตั้งกฎว่า 'ถ้าให้ลวดตัวนำไฟฟ้าและเส้นแรงแม่เหล็กเคลื่อนที่ตัดกัน ขณะที่เคลื่อนที่นั้นจะเกิดมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นในลวดตัวนำไฟฟ้านั้น และถ้าต่อลวดไฟฟ้านั้นให้ครบวงจรก็จะมีไฟฟ้าไหลในวงจรนั้น'
          กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้น เรียกว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ และนำหลักการนี้มาสร้างเป็น ไดนาโม ซึ่งไดนาโมสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 2 ชนิด คือ
1)ไดนาโมกระแสสลับ : มีขดลวดอาร์เมเจอร์(ขดลวดที่ติดไว้ระหว่างขั้วเหนือและขั้วใต้ของแม่เหล็ก)
ไว้หมุนให้ตัดกับเส้นแรงแม่เหล็ก ที่ปลายของขดลวดมีวงแหวนลื่นเชื่อมติดอยู่วงแหวนนี้จะหมุนครูดสัมผัส
อยู่กับแปรงซึ่งต่อไปที่วงจรภายนอก
                - ไฟฟ้ากระแสสลับ คือ กระแสไฟฟ้าที่มีการเคลื่อนที่กลับไปกลับมา
2) ไดนาโมกระแสตรง : ปลายของขดลวดติดกับแหวนแยก หรือ คอมมิวเตเตอร์ ครึ่งวงแหวนแต่ละซีกแตะอยู่กับแปร
และแปรงแต่ละซีกติดกับวงจรภายนอก


การวัดกระแสไฟฟ้า
  การวัดกระแสไฟฟ้าด้วยแอมมิเตอร์
     เครื่องมือที่ใช้วัดเป็นมาตราฐาน คือ แอมมิเตอร์ มีทั้งวัดกระแสตรงและกระแสสลับโดยถ้าวัดกระแสตรงต้องดูขั้วบวกขั้วลบด้วยแต่กระแสสลับไม่ต้อง เมื่อจะวัดกระแสไฟฟ้าทั้งตรงและสลับ ให้ต่อแอมมิเตอร์แบบอนุกรมกับวงจร
              โดย                  1 แอมแปร์(A)       =    1000 มิลลิแอมแปร์(mA)
                              1 มิลลิแอมแปร์(mA)     =    0.001 แอมแปร์(A)
  การวัดความต่างศักย์ด้วยโวลต์มิเตอร์
     นิยมใช้โวลต์มิเตอร์วัดความต่างศักย์ มีหน่วยเป็น โวลต์(V:Volt) โดยในการวัดให้ต่อโวลต์มิเตอร์แบบขนานกับวงจร และถ้าวัดในวงจรกระแสตรงให้คำนึงถึงขั้วบวกและลบด้วย


กระแสไฟฟ้ากับความต้านทาน
     ถ้าตัวนำชนิดเดียวกัน ความต้านทานไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับ
1.ขนาด : พื้นที่หน้าตัดใหญ่กว่าความต้านทานน้อยกว่า
2.ความยาว : ยิ่งยาวยิ่งความต้านทานมาก
3.ชนิดของวัสดุ
4.อุณหภูมิ : อุณหภูมิสูงความต้านทานสูง ยกเว้น คาร์บอนและซิลิกอนรวมถึงสารละลายอิเล็กโทรไลต์และฉนวน ที่อุณหภูมิสูงความต้านทานจะต่ำลง
     ยอร์ช ไซมอน โอห์ม พบความสัมพันธ์ของกระแสไฟฟ้ากับความต้านทานได้ดังนี้
R = V/I ; V=IR
เมื่อ R= ความต้านทาน(โอห์ม : )
      V= ความต่างศักย์(โวลต์ : V)
       I= กระแสไฟฟ้า(แอมแปร์ : A)
ตัวต้านทาน ใช้เพิ่มเข้าไปในวงจรเพื่อลดปริมาณกระแสไฟฟ้าตามต้องการ
1.แบบค่าคงที่ ที่นิยมคือแบบถ่านโดยใช้รหัสสีแบบคาดเป็นแถบ

การเบี่ยงเบนจากค่าที่ระบุไว้ โดยการใช้แถบสีแถบสุดท้าย
สีเงิน ±10%
สีทอง ±5%
สีแดง ±2%
สีน้ำตาล ±1%
2.แบบเปลี่ยนค่าได้ ส่วนมากเป็นรูปโค้งกลมมีแขนปรับ เมื่อหมุนแขนปรับจะทำให้ความต้านทานระหว่างขั้วที่ต่อกับแขนปรับกับปลายแต่ละข้างของตัวต้านทานเปลี่ยน
กฎของโอห์ม
             ยอร์ช ไซมอน โอห์ม พบความสัมพันธ์ของกระแสไฟฟ้ากับความต้านทานได้ดังนี้
เมื่อ R= ความต้านทาน(โอห์ม : )
       V= ความต่างศักย์(โวลต์ : V)
       I= กระแสไฟฟ้า(แอมแปร์ : A)
การต่อวงจรแบบอนุกรม
     เป็นการต่อจากอุปกรณ์หนึ่งไปอีกอุปกรณ์อย่างตรงๆ ดังนั้นหากอุปกรณ์ใดเสียจะทำให้กระแสหยุดไหล

Vรวม = V1 + V2 + V3 +…+ Vn
Iรวม = I1 = I2 = I3 = In

การต่อวงจรแบบขนาน
         แยกอุปกรณ์แต่ละชนิดในการเชื่อมต่อกับแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ดังนั้นถ้าอุปกรณ์ใดเสียก็ยังสามารถไหลผ่านอีกอุปกรณ์ได้
Iรวม = I1 + I2 + I3 +…+ In
Vรวม = V1 = V2 = V3 = Vn
     เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านมักต่อวงจรแบบนี้เนื่องจากได้ความต่างศักย์เท่ากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าและสามารถเลือกเปิดหลอดใดหลอดหนึ่งได้โดยใช้สวิตช์

ระบบไฟฟ้าในบ้าน
พลังงานไฟฟ้า -> พลังงานรูปอื่น -> งาน
     ไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้ามีแรงดันสูงมาก จึงเรียกว่าไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งสายไฟฟ้าแรงสูงเป็นสายไม่มีปลอกหุ้มเพราะถ้ามีต้องใช้ฉนวนลักษณะพิเศษที่มีราคาแพง ตามชานเมืองจะมีสถานีย่อยสำหรับลดแรงดันโดยใช้หม้อแปลงไฟฟ้าแต่ก็ยังเป็นไฟฟ้าแรงสูงดังนั้นก่อนที่ไฟฟ้าจะเข้าสู่ที่อยู่อาศัยจะถูกลดแรงดันลงอีกโดยหม้อแปลงที่ติดอยู่ที่เสาไฟฟ้าให้มีความดัน220V
     ปลั๊กไฟในบ้านจะมี3รู สายหนึ่งเป็นสายดินหรือสายกลางใช้ป้องกันอันตรายถ้าหากไฟฟ้าแรงสูงรั่วผ่านหม้อแปลงเข้ามา ส่วนอีก2สายมีกระแสไฟฟ้า เรียกว่า สายมีไฟ โดยจำนวนพลังงานไฟฟ้ามีหน่วยเป็นยูนิต(unit)
วงจรไฟฟ้าภายในบ้านประกอบด้วย..
1.อุปกรณ์ไฟฟ้า
2.เครื่องใช้ไฟฟ้า

1.อุปกรณ์ไฟฟ้า 
สายไฟ
   ทำด้วยตัวนำไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันใช้ทองแดง มีหน้าที่ส่งพลังงานไฟฟ้าจากจากที่หนึ่งไปอีกที่
- ความนำไฟฟ้า คือ การที่ลวดตัวนำยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านในปริมาณที่ต่างกัน
- I α V เมื่ออุณหภูมิคงที่
โดย V = ความต่างศักย์
        I = กระแสไฟฟ้า
R = VI
โดย R = ความต้านทานไฟฟ้า(โอห์ม: )
  1/R = ความนำไฟฟ้า(ต่อโอห์ม : -1 หรือ ซีเมนส์)
- ตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวด = ตัวนำไฟฟ้าที่มีสภาพต้านทานเป็นศูนย์(นำไฟฟ้าดีสุด)
- สายไฟขนาดเล็กนำไฟฟ้าได้น้อย(ความต้านทานมาก)
ประเภทของสายไฟ
1.สายเปลือย : ไม่มีฉนวนหุ้มสายเกลียว แต่อาจอาบด้วยสารเคมีที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น น้ำยาวานิช
2.สายหุ้มฉนวน : ทำด้วยทองแดงหรืออะลูมิเนียมและหุ้มด้วยฉนวนไฟฟ้า
- ไฟฟ้าลัดวงจร/ไฟช็อต คือ การที่กระแสไฟฟ้าปริมาณมากผ่านลวดตัวนำที่สัมผัสกันกลับเข้าเซลล์ไฟฟ้า
- นกที่เกาะบนสายไฟที่ไม่มีฉนวนหุ้มแต่ไม่เป็นไรเพราะนกไม่ได้สัมผัสกับพื้นดินจึงไม่เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้า ดังนั้นกระแสไฟฟ้าจึงไม่ผ่านตัวนกลงดิน
- การป้องกันไฟฟ้าดูด ทำได้โดยใช้ปลายข้างหนึ่งของสายไฟต่อกับโครงโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้า ปลายอีกข้างต่อกับแท่งโลหะแล้วเอาไปฝังดินที่มีความชื้น ซึ่งเรียกว่า สายดิน
ฟิวส์
        ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าไปในวงจรไฟฟ้าภายในบ้านมากเกินไปซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายจากการที่ไฟฟ้าลัดวงจรได้ เนื่องจากขณะที่ไฟฟ้าลัดวงจรกระแสไฟฟ้าจะไม่ไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆแต่จะไหลผ่านสายไฟบริเวณที่เกิดการลัดวงจรเพราะมีความต้านทานน้อยกว่าจึงทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านฟิวส์มากขึ้น ฟิวส์ก็จะขาดและตัดวงจรไฟฟ้าไปโดยอัตโนมัติ เนื่องจากฟิวส์มีจุดหลอมเหลวต่ำเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านฟิวส์พลังงานไฟฟ้าจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนเล็กน้อย เมื่อมีไฟฟ้าไหลผ่านฟิวส์มากขึ้นพลังงานความร้อนก็จะมากขึ้นจนทำให้ฟิวส์หลอมละลายและขาดในที่สุด
         การเลือกขนาดของฟิวส์ ให้เลือกโดยนำกำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านมารวมกันแล้วหารด้วย220Vจะได้ปริมาณกระแสไฟฟ้าออกมา แล้วจึงเลือกใช้ฟิวส์ที่ทนกระแสไฟฟ้าสูงสุดได้มากกว่ากระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ใช้ในบ้านเล็กน้อย
ประเภทของฟิวส์
1.ฟิวส์เส้น : ใช้กับสะพานไฟตามอาคารบ้านเรือน ดัดเป็นรูปต่างๆได้ง่าย
2.ปลั๊กฟิวส์(ฟิวส์กระเบื้อง) : บรรจุอยู่ในกระบอกที่ทำด้วยกระเบื้องกลวงปิด แบ่งเป็นแบบที่ขาดทันทีเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลเกินขนาด ใช้ตามบ้านที่อยู่อาศัยทั่วไป อีกแบบหนึ่งคือแบบขาดช้าเหมาะใช้สำหรับวงจรมอเตอร์มากกว่าวงจรแสงสว่างธรรมดา
3.คาร์ทริดจ์ฟิวส์ :  ใช้ร่วมกับเซฟตี้สวิตช์ มีหลายแบบ เช่น แบบเฟอร์รูล(ฟิวส์หลอด)ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า แบบใบมีด(ฟิวส์แผ่น)ทำด้วยโลหะผสม
              ปัจจุบันมีฟิวส์อัตโนมัติที่มีสวิตช์ตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อมีปริมาณมากเกินกำหนดหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรเมื่อแก้ไขแล้วสามารถปิดสวิตช์ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ดังเดิมโดยไม่ต้องเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ เช่น เซอร์กิตเบรคเกอร์(circuit breaker) ซึ่งนิยมต่อกับสายไฟใหญ่ที่เข้าบ้านหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้กระแสไฟฟ้ามากๆ

สะพานไฟ
           เชื่อมโยงสายไฟที่ต่อมาจากมาตรไฟฟ้าเข้ากับวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน ทั่วไปเรียกว่า คัตเอาต์(cut-out) ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าทั้งหมด มักต่อฟิวส์ไว้ในสะพานไฟด้วย และเมื่อยก(ปิด)สะพานไฟกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านไม่ได้ เรียกว่า ตัดวงจร ซึ่งสะพานไฟเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตัดวงจรทั้งหมด


สวิตช์
          ใช้ในการเปิดปิดวงจรไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่ต้องการ ประกอบด้วยโลหะ2ชิ้นโดยโลหะทั้งสองชิ้นถูกจัดให้แตะหรือแยกกันได้ง่ายซึ่งเรียกโลหะทั้งสองชิ้นว่า คอนแทค(contact) เมื่อแตะกันจะครบวงจรถ้าแยกกันไฟฟ้าก็จะหยุดไหล
1.สวิตช์ทางเดียว : ปิดเปิดวงจรทางเดียว
2.สวิตช์สองทาง : สวิตช์สองอันต่อหลอดไฟ1ดวง เพื่ออำนวยความสะดวกในการเปิดปิด นิยมใช้บริเวณบันได
3.สวิตช์อัตโนมัติ : เมื่อมีกระแสไหลผ่านเกินขนาดหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรสวิตช์จะตัดวงจรอัตโนมัติโดยสวิตช์ไม่หลอมละลาย หลังจากแก้ไขแล้วก็ปุ่มที่สวิตช์ต่อวงจรใหม่
เต้ารับและเต้าเสียบ

         การใช้เต้าเสียบ3ขาดีกว่า2ขา เนื่องจากถ้ากระแสไฟฟ้ารั่ว กระแสไฟฟ้าจะไหลลงดินผ่านทางสายดินช่วยไม่ให้เกิดอันตราย นอกจากนี้ยังไม่ควรต่อเต้าเสียบจากเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆชนิดกับเต้ารับอันเดียวเพราะจะเกิดอันตรายจากการที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากไปจนเกิดความร้อนสูงในสายไฟและอาจเกิดไฟไหม้ได้

2.เครื่องใช้ไฟฟ้า
1.ให้พลังงานแสงสว่าง
     - หลอดไฟฟ้า ผู้ประดิษฐ์คนแรก คือ โทมัส แอลวา เอดิสัน เมื่อพ..2422 โดยขณะนั้นใช้คาร์บอนเป็นไส้หลอดเมื่อไส้คาร์บอนร้อนจัดจะเปล่งแสงออกมาแต่ก็มีปัญหาว่าเมื่อคาร์บอนได้รับความร้อนแล้วบางส่วนกลายเป็นไอหรือเขม่าไปจับกับบหลอดแก้ว แสงสว่างก็จะลดลงนอกจากนี้ไส้คาร์บอนก็เปราะหักได้ง่าย จึงมีการพัฒนาใช้ทังสเตนเป็นไส้หลอดแทนพร้อมทั้งสูบอากาศออกแล้วบรรจุแก๊สเฉื่อย เช่น แก๊สอาร์กอนเข้าไปซึ่งสามารถใช้ไอโอดีนแทนได้เช่นกัน
              แต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้หลอดไฟฟ้าชนิดไส้แล้วเพราะมีความร้อนมากและกินไฟมาก


หลอดฟลูออเรสเซนต์

           ทำด้วยแก้วบางใสกลมยาว ภายในสูบอากาศออกและใส่แก๊สอาร์กอนกับปรอทไว้เล็กน้อย ที่ผิวด้านในของหลอดฉาบสารเรืองแสงไว้ซึ่งสามารถเปล่งแสงเมื่อได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต มีไส้หลอดอยู่ที่ปลายหลอดทั้งสองข้าง ขั้วโลหะเป็นขั้วไฟฟ้าซึ่งเรียกว่า อิเล็กโทรดทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อกระแสไฟฟ้าจากวงจรภายนอกเข้าหลอด การต่อเข้าสู่วงจรไฟฟ้าภายในบ้านต้องต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่นอีกเพื่อไม่ให้หลอดไฟขาด อุปกรณ์นั้นเช่น

-สตาร์ตเตอร์ : ภายในมีแผ่นโลหะคู่และแผ่นโลหะตัวนำ แต่ละแผ่นต่อกับขั้วไฟฟ้าซึ่งอยู่ห่างกันเล็กน้อย และบรรจุด้วยแก๊สอาร์กอน
-แบลลัสต์ : ภายในพันด้วยขดลวดรอบแกนแม่เหล็กและใช้ลวดทองแดงอาบน้ำยากันไฟรั่วระหว่างเส้นลงแกนเหล็กด้วย มีความต้านทานต่อไฟฟ้ากระแสสลับสูง

ปัจจุบันมีการพัฒนาหลอดฟลูออเรสเซนต์ 2 แบบ คือ
1.หลอดฟลูออเรสเซนต์ประสิทธิภาพสูง : เส้นผ่านศูนย์กลางสั้นกว่าแบบธรรมดาแต่ยาวเท่าเดิมจึงมักเรียกว่า หลอดผอม เป็นหลอดประหยัดพลังงาน
2.หลอดฟลูออเรสเซนต์คอมแพค : มีขั้วเกลียวใช้แทนหลอดธรรมดาชนิดไส้ได้ มีราคาแพงแต่ประหยัดพลังงานและอายุการใช้งานนาน
     หลอดฟลูออเรสเซนต์จะให้แสงสว่างมากกว่าและประสิทธิภาพมากกว่าหลอดธรรมดาเนื่องจากพลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนน้อยมาก แต่หลอดธรรมดาต้องเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อนแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นพลังงานแสง ดังนั้นพลังงานความร้อนจึงสูญเสียไปบ้าง


2.ให้พลังงานความร้อน
             อาศัยการที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านลวดความต้านทานแล้วจะเกิดความร้อนในลวดนั้น โดยลวดควรจะมีความต้านทานสูงเพื่อให้มีความร้อนมาก
              ขดลวดที่ใช้คือ นิโครมซึ่งเป็นการผสมกันระหว่างนิกเกิล โครเมียมและเหล็ก ส่วนใหญ่มักขดอยู่ในที่รองรับที่เป็นฉนวนในเครื่องใช้ไฟฟ้า
เตาไฟฟ้า
1.แบบเปิด : ไม่มีเครื่องควบคุมอุณภูมิ มีลวดนิโครมขดอยู่ตามร่องปูนปลาสเตอร์หรือปูนซีเมนต์หรือกระเบื้องเคลือบเพื่อไม่ให้เกิดการลัดวงจรและไม่ให้ความร้อนไปอยู่ส่วนล่างของเตา แต่แบบนี้จะสูญเสียพลังงานมากกว่าแบบปิด
2.แบบปิด : มีลวดนิโครมอยู่ในท่อเหล็กไร้สนิมและบรรจุแมกนีเซียมออกไซด์ซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้าแต่นำความร้อนไว้ภายในท่อด้วย ปลอดภัยกว่าแบบเปิดแต่ก็มีราคาแพงกว่า สามารถปรับอุณหภูมิได้
เตารีดไฟฟ้า
     เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านแถบนโครมหรือแผ่นขดลวดความร้อนแล้ว จะถ่ายเทต่อไปยังแผ่นทับผ้าทำให้แผ่นทับผ้าร้อน ส่วนอุณหภูมิที่ใช้ก็จะขึ้นอยู่กับเนื้อผ้าที่เรารีด เตารีดไฟฟ้ามี3ชนิด คือ
1.แบบธรรมดา : ไม่สามารถปรับอุณหภูมิได้ ถ้าต้องการให้อุณภูมิสูงขึ้นก็เสียบปลั๊กอีกครั้งถ้าต้องการให้อุณหภูมิต่ำลงก็ถอดปลั๊กออก ไม่นิยมใช้เพราะอาจเกิดอันตรายได้
2.แบบอัตโนมัติ : ตั้งอุณหภูมิได้โดยใช้เครื่องปรับอุณหภูมิหรือเทอร์มอสตัท
3.แบบไอน้ำ : มีที่เก็บน้ำอยู่ในตัวเตารีด เมื่อเตารีดร้อนน้ำก็จะเดือดเป็นไอเมื่อต้องการใช้ก็กดปุ่มให้ไอน้ำพุ่งออกมา แต่น้ำที่เก็บไว้ต้องเป็นน้ำสะอาด

หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ประกอบด้วย
1.แผ่นความร้อน : มีขดลวดความร้อนฝังอยู่ ให้ความร้อนแก่หม้อชั้นใน

2.หลอดไฟบอกสภาวะการทำงาน : มีหลอดไฟที่ใช้กับวงจรหุงข้าวและอุ่นข้าว
3.หม้อข้าวชั้นใน : ทำด้วยอลูมิเนียมหรือโลหะผสม ต้องไม่บุบเบี้ยวง่ายไม่อย่างนั้นก้นหม้อจะสัมผัสกับแผ่นความร้อนได้ไม่ดี
4.หม้อข้าวชั้นนอก : ทำด้วยโลหะ มีหูจับสองด้าน มีเต้ารับเต้าเสียบ
5.เทอร์มอสตัท : ควบคุมความร้อนอัตโนมัติ

 
3.ให้พลังงานกล
            มอเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็พลังงานกล โดยเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดตัวนำแล้วจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กและเกิดแรงกระทำกับขดลวดตัวนำซึ่งเป็นแรงคู่ควบจึงทำให้ขดลวดตัวนำหมุนได้
พัดลมไฟฟ้า
           ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า3ชนิดคือ ยูนิเวอร์ซัลมอเตอร์ใช้ได้ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ มอเตอร์แบบบังขั้วและมอเตอร์แบบขั้วซึ่งทั้งสองมอเตอร์นี้ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ
เครื่องดูดฝุ่น
- แบบถุง : ขณะที่มอเตอร์ทำงานแปรงจะช่วยปัดฝุ่นขึ้นมาจากพื้น พัดลมช่วยดูดอากาศที่มีฝุ่นผ่านไปยังถุงเก็บฝุ่นแล้วอากาศก็จะออกจากถุงโดยที่ฝุ่นออกไม่ได้แต่ถ้าใช้งานจนมีฝุ่นมาอุดที่ผนังถุงมากๆอากาศก็จะออกจากถุงได้ยาก กำลังการดูดของมอเตอร์ก็ลดลง จึงควรทำความสะอาดถุงเก็บฝุ่นอยู่เสมอ
- แบบทรงกระบอก : มีถุงเก็บฝุ่นอยู่ด้านหน้า มีมอเตอร์ดูดอากาศอยู่ด้านหลังทำให้บริเวณหน้าเครื่องมีความกดดันน้อยและอากาศด้านหน้าของหัวดูดก็จะพัดเข้ามาตลอดเวลา เป็นแบบที่สะดวกมากเนื่องจากเปลี่ยนหัวดูดได้ด้วย

4.ให้พลังงานเสียง
เครื่องบันทึกเสียง
          เมื่อพูดใส่ไมโครโฟนแล้วแผ่นไดอะเฟรมในไมโครโฟนก็จะสั่นตามคลื่นเสียงแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าก็จะถูกบันทึกลงในแถบบันทึกเสียงที่ฉาบไว้ด้วยสารแม่เหล็กในรูปของสัญญาณแม่เหล็ก เมื่อจะฟังเสียงก็ทำกลับกันจากการบันทึกเสียง
เครื่องขยายเสียง มี4ภาค คือ
1.ภาคพรีแอมป์ : ขยายสัญญาณจากเสียงที่มีกำลังของสัญญาณต่ำมากให้มีกำลังสูงพอจะผ่านไปยังภาคต่อไป
2.ภาคโทนปรับเสียง : ปรับแต่งเสียงที่มีความถี่ 20-20000 เฮิรตซ์ให้มากน้อยตามต้องการ และช่วยขยายสัญญาณให้สูงขึ้นก่อนผ่านไปในภาคต่อไป
3.ภาคไดรเวอร์หรือภาคขยายขับ : ขยายสัญญาณให้มีกำลังสูงขึ้นเพื่อส่งผ่านไปภาคถัดไป
4.ภาคเมนแอมป์ : ขยายสัญญาณครั้งสุดท้ายก่อนส่งไปที่ลำโพง

วงจรไฟฟ้าในบ้าน
     วงจรไฟฟ้าเป็นเส้นทางการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระที่ผ่านไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆแล้ววกกลับมาที่จุดเริ่มต้นเหมือนเดิม วงจรไฟฟ้าประกอบด้วย
1.แหล่งกำเนิดไฟฟ้า : มีทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ
2.สายตัวนำเชื่อมโยง : สายไฟที่มำจากลวดทองแดงมีฉนวนหุ้ม
3.อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์ตามที่ต้องการ : โหลด(load) เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์
- ถ้าใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดพร้อมกันจนโรงไฟฟ้าจ่ายไฟให้ได้ไม่พอจะเกิดไฟตก คือ ความสว่างของไฟลดลง
- วงจรไฟฟ้าที่มีไฟฟ้าไหลครบวงจร เรียกว่า วงจรปิด
- วงจรที่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้าหายไป จะไม่มีกระแสไหลในวงจร เรียกว่า วงจรเปิด
- การเปิดสวิตช์ไฟคือการทำให้มีไฟฟ้าไหลในวงจร เป็นวงจรปิด ตรงข้ามกับการปิดสวิตช์ไฟ
กำลังไฟฟ้า
     คือ ค่าพลังงานไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าให้พลังงานใน1วินาที มีหน่วยเป็นจูลต่อวินาที หรือ วัตต์
การคิดกำลังไฟฟ้าของไฟฟ้ากระแสตรง
เมื่อ         P = กำลังไฟฟ้าที่ใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า (วัตต์)
                V = ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่ต่อกับเครื่องใช้ไฟฟ้า (โวลต์)
                I = กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า (แอมแปร์)
*  สมการนี้สามารถใช้ได้กับทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ
การคิดกำลังไฟฟ้าของไฟฟ้ากระแสสลับ
     ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าทำงานแยกกัน
P = VI × เพาเวอร์แฟคเตอร์
ตัวอย่าง มอเตอร์ไฟฟ้าตัวหนึ่งมีค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ 0.6ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ220โวลต์ เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน2แอมแปร์ จะใช้กำลังไฟฟ้าเท่าใด
วิธีทำ      จากสูตร P  =  VI × เพาเวอร์แฟคเตอร์
                กำหนดให้             V =  220 โวลต์
                                                I  =  2 แอมแปร์
                เพาเวอร์แฟคเตอร์  =  0.6
                 แทนค่า                  P  = 220 × 2 × 0.6 = 264 วัตต์

พลังงานไฟฟ้า
     หมายถึง งานที่ต้องทำในการเคลื่อนประจุไฟฟ้าผ่านจุดใดจุดหนึ่งในวงจรไฟฟ้า
                                                                W           =             QV หรือ VIt       (Q = It)
                                                                W           =             Pt                           (P = VI)
เมื่อ         W = พลังงานไฟฟ้า (จูล)
                P = กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
                t = เวลา (วินาที)
**   1,000 วัตต์ = 1 กิโลวัตต์
                                W (หน่วย)  =  P (กิโลวัตต์) × t (ชั่วโมง)
การคำนวณหาค่าพลังงานไฟฟ้า
ตัวอย่าง ในบ้านหลังหนึ่งมีหลอดไฟฟ้า100วัตต์ จำนวน5ดวงถ้าเปิดพร้อมกันจะใช้กำลังไฟฟ้ารวมกี่กิโลวัตต์ และถ้าเปิดหลอดไฟทุกดวงไว้นาน 10 ชั่วโมง จะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเท่าใด
วิธีทำ      เปิดหลอดไฟ 100 วัตต์ 5 ดวง จะใช้กำลังไฟฟ้า
                รวม        = 100 × 5 วัตต์
                                = 500 วัตต์
                จาก         1,000 วัตต์ = 1 กิโลวัตต์
  500 วัตต์  =  500/1000  =  0.5 กิโลวัตต์
นั่นคือหลอดไฟทั้ง 5 ดวง ใช้กำลังไฟฟ้า      = 0.5 กิโลวัตต์
                จากสมการ            W (หน่วย)  =  P (กิโลวัตต์) × t (ชั่วโมง)
                แทนค่า  พลังงานไฟฟ้าที่ใช้   =  0.5 กิโลวัตต์ × 10 ชั่วโมง
                                                                      =  5 กิโลวัตต์-ชั่วโมง
                                                                      =  5 หน่วย
 เปิดหลอดไฟฟ้า 5ดวง เป็นเวลานาน10 ชั่วโมง สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า5 กิโลวัตต์-ชั่วโมงหรือ5หน่วย
ตัวอย่าง โทรทัศน์เครื่องหนึ่งมีตัวเลขกำกับกำลังงานไฟฟ้า600วัตต์ ถ้าเปิดโทรทัศน์วันละ6ชั่วโมง ในเวลา1เดือนจะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าเท่าใด
วิธีทำ      ในเวลา1ชั่วโมง เปิดโทรทัศน์สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
                                                =  600/1000  =  0.6 กิโลวัตต์
                ถ้าในเวลา6ชั่วโมง เปิดโทรทัศน์สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
                                                =  0.6 × 6  =  3.6 กิโลวัตต์
                 ในเวลา1วัน เปิดโทรทัศน์สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
                                                =  3.6 กิโลวัตต์-ชั่วโมง
                ในเวลา30วัน เปิดโทรทัศน์สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า
                                                =  3.6 x 30  =  108 กิโลวัตต์-ชั่วโมง
 ในเวลา1เดือนเปิดโทรทัศน์สิ้นเปลืองพลังงาน 108 กิโลวัตต์-ชั่วโมง หรือ 108หน่วย
          การใช้พลังงานไฟฟ้า จะคิดเงินโดยใช้ มาตรไฟฟ้า หรือ กิโลวัตต์-ชั่วโมงมิเตอร์ โดยคิดจากปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านใน1วินาที

การคำนวณค่าไฟฟ้า
ค่าไฟฟ้าที่ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องชำระในแต่ละเดือนประกอบด้วย
* ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Charge)
* ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิตหรือค่า Ft (Energy Adjustment Charge)
* และภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ซึ่งสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของสมการได้ดังนี้
ค่าไฟฟ้าที่ต้องชำระ = ค่าพลังงานไฟฟ้า + ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต + ภาษีมูลค่าเพิ่ม
คิดค่าไฟฟ้าในอัตราก้าวหน้า หรือตามจำนวนการใช้ไฟฟ้า ถ้าใช้มากขึ้นหน่วยคิดจะสูงขึ้น


ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต (Ft) = จำนวนหน่วยที่ใช้ X ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิตต่อหน่วย
     สำหรับค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิตต่อหน่วยนี้จะเปลี่ยนแปลงตามสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งในปัจจุบันนี้เท่ากับ 64.52 สตางค์ต่อหน่วย
ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT
        ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ร้อยละ 7 ของผลรวมระหว่างค่าพลังงานไฟฟ้ากับค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต
ตัวอย่าง การคำนวณค่าไฟฟ้า บ้านหลังหนึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าในระยะเวลา 1 เดือน เท่ากับ 85 หน่วย จะต้องชำระค่า ไฟฟ้าเท่าไร ( คิดค่าพลังงานไฟฟ้าในอัตราก้าวหน้า )
ค่าพลังงานไฟฟ้าในอัตราก้าวหน้า
* 5 หน่วยแรกหรือน้อยกว่า เป็นเงิน 5.00 บาท
* 10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 6 – 15) หน่วยละ 0.70 บาท
* 10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 16 – 25) หน่วยละ 0.90 บาท
* 10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 26 – 35) หน่วยละ 1.17 บาท
* 65 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 36 – 100) หน่วยละ 1.58 บาท
* 50 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 101 – 150) หน่วยละ 1.68 บาท
* 250 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 151 – 400) หน่วยละ 2.22 บาท
* เกินกว่า 400 หน่วย ( หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป ) หน่วยละ 2.53 บาท
* ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต (Ft) หน่วยละ 0.6452 บาท
* ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7 %
วิธีทำ คิดค่าพลังงานไฟฟ้าได้ดังนี้
5 หน่วยแรก เป็นเงิน = 5.00 บาท
10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 6 – 15) เป็นเงิน 0.70 x 10 = 7.00 บาท
10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 16 – 25) เป็นเงิน 0.90 x 10 = 9.00 บาท
10 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 26 – 35) เป็นเงิน 1.17 x 10 = 11.70 บาท
50 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 36 – 85) เป็นเงิน 1.58 x 50 = 79.00 บาท
ค่าพลังงานไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น = 5.00 + 7.00 + 9.00 + 11.70 + 79.00 = 111.70 บาท
ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต (Ft) = จำนวนหน่วยที่ใช้ X ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิตต่อหน่วย
= 85 X 0.6452  = 54.84 บาท
ค่าพลังงานไฟฟ้า + ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต = 111.70 + 54.84 = 166.54 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) = ( ค่าพลังงานไฟฟ้า + ค่าปรับปรุงต้นทุนการผลิต ) x 7/100
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) = ( 111.70 + 54.84 ) x 7/100 = 11.66 บาท
ตอบ บ้านหลังนี้ต้องชำระค่าไฟฟ้า = 111.70 + 54.84 + 11.66 = 178.20 บาท
-ค่า FT ไม่สามารถคำนวณได้ ขึ้นอยู่ค่าใช้จ่าย ยิ่งมีการสร้างหรือใช้วัตถุดิบมากก็ยิ่งทำให้ค่า FT สูง
มากเลย มีการเพิ่มเสา เดินสายไฟฟ้า ก็มีผลกับค่า FT